รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

SMF - Just Installed!

ผู้เขียน หัวข้อ: การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย  (อ่าน 658 ครั้ง)

P.CCTV_Chaiyaporn

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 43
    • ดูรายละเอียด
การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย
« เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2020, 06:39:57 AM »


อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต ทุกคนๆ ในโลกต่างใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและรับข่าวสารข้อมูล ดังนั้นในหลายแห่งจะต้องมีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ เพื่อรับข่าวสารข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันในระยะไกล ในบทความนี้เราจึงนำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ว่าการสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายมีรูปแบบการสื่อสารกันอย่างไร

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วระบบการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญดังนี้

ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะผ่านสื่อกลางอาจจะเป็นแบบมีสายและแบบไม่มีสายก็ได้ เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้

ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับส่งข่าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล ซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ลำเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยปัจจุบันสื่อกลางมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบมีสาย เช่น สายคู่บิตเกลียว สายใยแก้วนำแสง และแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น

โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่ กรณีที่ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารผิดพลาดจะถือได้ว่าการสื่อสารนั้นลมเหลว เช่น คนไทยต้องการสื่อสารกับคนลาว โดยต่างคนต่างพูดภาษาของตนเองรับรองว่า ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างแน่นอน จำเป็นต้องมีภาษากลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ในที่นี้ให้เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งคนไทยและคนลาวก็ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกันก็จะสื่อสารกันเข้าใจ โพรโตคอลในที่นี้คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น

รูปแบบการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย

การสื่อสารแบบ Unicastลักษณะการสื่อสารแบบ Unicast เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่ายในลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือเรียกว่า One-to-One การส่งลักษณะนี้ ตัวเราท์เตอร์ ใช้โพรโทคอลในการค้นหาเส้นทางระหว่างโหนด เช่น Routing Internet Protocol version 2 (RIP), Open Shortest Path Finding version 2 (OSPF) เป็นต้น



การสื่อสารแบบ Broadcast การสื่อสารแบบ Broadcast โหมดนั้นเป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางหนึ่งเครื่องไปยังเครื่องปลายทางทุกเครื่องที่ติดต่ออยู่ในลักษณะของการแพร่กระจายข้อมูล แบบ 1 ต่อ
ทั้งหมด หรือเรียกว่า One-to-All



การสื่อสารแบบ Multicast โหมดการสื่อสารข้อมูลแบบ Multicast เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยังกลุ่มของเครื่องปลายทางเฉพาะกลุ่มที่มีการกำหนดแบบ 1 ต่อกลุ่มเฉพาะ หรือ One-to-N ซึ่ง N ในที่นี้อยู่ตั้งแต่ 0 ถึง ทั้งหมด การส่งข้อมูลจะส่งไปยังเฉพาะกลุ่มที่ต้องการรับข้อมูลเท่านั้น การส่งข้อมูลแบบนี้จะแตกต่างจาก Unicast และ Broadcast มาก คือ ข้อมูลจะถูกส่งจากต้นทางเพียงแพ็กเก็ต (Packet) เดียวและจะถูกส่งต่อโดยตัวเราท์เตอร์ จนถึงกลุ่มเครือข่ายปลายทาง และจะส่งแพ็กเก็ต ข้อมูลไปยังเครื่องในกลุ่มเฉพาะ (Multicast Group) ที่กำหนด โดยจะทำการคัดลอกแพ็กเก็ตข้อมูลแล้วส่งให้แก่เครื่องปลายทางทุกเครื่องที่ต้องการ

บันทึกการเข้า