'บีโอไอ' ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยหันใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

 OIENewLogo
 



สรุปประเด็นข่าวสำคัญ : ประจำวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2557
 

ค่าเงินบาท (ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2557)   31.867 บาท/$

ทองคำแท่ง    ซื้อ   19,550.00  บาท

ขาย   19,650.00   บาท

ทองรูปพรรณ  ซื้อ   19,268.36 บาท

ขาย   20,050.00    บาท

เบนซินออกเทน 95   48.75 บาท/ลิตร

ดีเซลหมุนเร็ว     29.85 บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล 95        40.23 บาท/ลิตร

แก๊สโซฮอล 91    37.78 บาท/ลิตร

ข่าวในประเทศ
กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ: ดร.อรรชกา สีบุญเรือง              อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม             1. กสอ.สร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมพัฒนาขอนแก่นกลายเป็น 'ฮับ' รองรับเออีซี (ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2557)                                                                                              ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ได้มีการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพภาคอุตสาหกรรม SMEs ในพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs รายเดิมให้มีความเข้มแข็ง มีความรู้ในด้านการประกอบการอย่างเป็นระบบและบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการเข้าสู่เออีซี โดยมีการส่งเสริมลักษณะผู้ประกอบการที่มีความสามารถและ ธรรมมาภิบาลการบริหารธุรกิจยุคใหม่ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนต่าง ๆ และมีความรู้ในด้านการจัดตั้งธุรกิจ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาผู้ประกอบการไปแล้ว 281 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรม 8,975 ราย จาก 77 จังหวัด โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 148 ราย ทั้งนี้ กสอ. มองเห็นศักยภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน โดยเฉพาะ จังหวัดขอนแก่น ที่เป็นศูนย์กลางในหลายด้าน จึงส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มเคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
            อย่างไรก็ตาม จังหวัดขอนแก่น มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ในการทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีความพร้อมในหลายด้าน อาทิ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการลงทุน ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี และด้านเงินทุน ทำให้มีศักยภาพพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อินโดจีนได้แบบไม่ยากนัก โดยคาดว่า จังหวัดขอนแก่น จะสามารถยกระดับภาคอุตสาหกรรมได้อย่างสมบูรณ์ จนสามารถแข่งขันกับชาติอื่นในภูมิภาคอาเซียนได้ เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทั้งในด้านเชิงรับและเชิงรุกผ่านกระบวน การเรียนรู้ต่าง ๆ  ผู้ประกอบการจะได้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

กล่องข้อความ:  กล่องข้อความ: นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)            2. สมอ.ตื่นขันนอตใบอนุญาตแก้กฎหมายคุมมาตรฐานอุตสาหกรรม ปรับคุณภาพหมวกกันน็อกแบบใหม่ (ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์, ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2557)                               นายอุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) เห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอให้หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.พิจารณาเพื่อแก้ไขการออกใบอนุญาตของสมอ.ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว รัดกุมมากขึ้น ทั้งนี้ ร่างกฎหมายฉบับใหม่จะแก้ไขใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ให้อำนาจเลขาธิการ สมอ.ในการพิจารณาการออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทั่วไป 2. แก้กฎหมายให้อำนาจ กมอ.เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตนำเข้า เฉพาะครั้งคราวในสินค้าที่มีมาตรฐานต่างจากประเทศไทย และ 3. แก้ไขการกำหนดอายุใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กล่องข้อความ:              อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ สมอ.กำลังเตรียมทำประชาพิจารณ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยานยนต์เพื่อนำมาประกาศใช้ในสิ้นปีนี้ โดยจะปรับใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยตามข้อตกลงประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือมาตรฐานยูเอ็นอีซีอี ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จากปัจจุบันที่ไทยใช้มาตรฐานความปลอดภัยของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมาตรฐานใหม่จะทำให้หมวกนิรภัยมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยัง 10 ประเทศในอาเซียนได้ตามข้อตกลง                                                                                                                  3. 'บีโอไอ' ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยหันใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
กล่องข้อความ: นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2557)                        นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ทางบีโอไอ กำลังปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกันกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้กำหนดแผนพัฒนามีความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง จึงต้องเน้นอุตสาหกรรมที่สร้างคุณค่า และมูลค่ามากกว่าเชิงปริมาณ ทั้งนี้ไทยไม่สามารถแข่งขันด้านอุตสาหกรรมด้านใช้แรงงานและทรัพยากรภายในประเทศเป็นฐานการผลิต จึงต้องพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่จะมีการปรับโครงสร้างการอุตสาหกรรมให้เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่จะประกาศใช้ในปี 2558 นี้ จะปรับเปลี่ยนการ ส่งเสริมจากเดิมที่ให้การส่งเสริมทุกอุตสาหกรรมมามุ่งเน้นโฟกัสเลือกส่งเสริมเฉพาะกลุ่ม สินค้าบางกลุ่มที่มีส่วนต่อยอด และสร้างพื้นฐานให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ สินค้า 4 กลุ่มคือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานอุตสาหกรรมเดิม อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมที่มีทรัพยากรพื้นฐานในประเทศอยู่แล้ว เช่น เกษตร อาหาร และอุตสาหกรรมที่ไทยมีการพัฒนาการผลิตระดับโลก เช่น รถยนต์และชิ้นส่วน หากต่อยอดไปจะกลายเป็นฐานการผลิตใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมการบิน ที่เป็นธุรกิจอนาคตที่กำลังเติบโตในเอเชีย รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์
            อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนนั้น มีการจัดทำรูปแบบจูงใจการลงทุนด้วยมาตรการอำนวยความสะดวก ด้านอื่นๆ ส่วนแผนการสนับสนุนด้านการวิจัยพัฒนานั้นวางแผนไว้ภายใน 5 ปี จะต้องเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาจาก 6,000 ล้านบาทในปัจจุบันเป็น 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2557 น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 700,000 ล้านบาท ที่ลดลงจากปี 2556 ที่มูลค่าการขอรับการส่งเสริมอยู่เติบโตถึง 900,000 ล้านบาท เนื่องมาจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจโลกมีทิศทางไม่ฟื้นตัว ในปีนี้
ข่าวต่างประเทศ
กล่องข้อความ:              1. ไอเอ็มเอฟลดการเติบโตทั่วโลกเหลือ 3.4 (ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2557)                                               กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกน่าจะขยายตัว 3.4% ในปีนี้ ลดลงจากประมาณการเมื่อเดือนเมษายน 0.3% แต่ยังถือว่าดีกว่าปี 2556 ซึ่งโต 3.2% โดยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของไอเอ็มเอฟล่าสุด ระบุว่า การเติบโตทั่วโลกอาจลดลงเป็นเวลานานขึ้น เนื่องจากไม่มีแรงส่งที่แข็งแกร่งในเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก และมีการผ่อนคลายตัวยับยั้งการฟื้นตัวอื่นๆ ทั้งนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งในตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล อินโดนีเซีย และตุรกี ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในช่วงปี 2556 - 2557 ซึ่งทำให้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้น เนื่องจาก คาดว่าจะมีการเติบโตที่ค่อนข้างแข็งแกร่งมากขึ้นในเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วบางประเทศในปีหน้า ไอเอ็มเอฟจึงคงประมาณการเติบโตทั่วโลกในปี 2558 ไว้ที่ 4%
            อย่างไรก็ตาม สำหรับการเติบโตของยูโรโซน คาดว่า จะแข็งแกร่งเป็น 1.1% จากที่หดตัว 0.4% ในปีที่ผ่านมา แต่ไอเอ็มเอฟตั้งข้อสังเกตว่ายูโรโซนจะยังคงมีการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากันทั่วภูมิภาค ซึ่งสะท้อนว่ายังคงมีการกระจายตัวทางการเงินอย่างต่อเนื่อง งบดุลของภาครัฐและเอกชนลดลง และการว่างงานสูงในเศรษฐกิจบางประเทศ

 

'บีโอไอ' ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยหันใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

'บีโอไอ' ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยหันใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

http://www.star-circuit.com/news/BOI.html