รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ลงประกาศฟรี => อื่น ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: saibennn9 ที่ กันยายน 12, 2018, 11:53:59 PM

หัวข้อ: ถนนส่วนบุคคล แม้จะติดป้ายไว้ว่า "ถนนส่วนบุคคล" ก็อาจกลายเป็นที่สาธารณะได้
เริ่มหัวข้อโดย: saibennn9 ที่ กันยายน 12, 2018, 11:53:59 PM
วันนี้เรามีคดีปกครอง (https://www.gotoknow.org/posts/tags/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87)ที่น่าสนใจ มานำเสนอค่ะคดีหมายเลขแดงที่ อ.65/2559          มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ได้นิยามความหมายของคำว่า “ที่สาธารณะ (https://www.gotoknow.org/posts/tags/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0)” ว่าหมายรวมถึงถนน และให้ความหมายของคำว่า “ถนน” ว่าหมายรวมถึง ถนนส่วนบุคคล (https://www.gotoknow.org/posts/tags/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5)ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ และห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัสดุใดๆ บนถนน เว้นแต่กระทำในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรหรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ          คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณซอยและประชาชนที่ไม่ได้อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์ถนนซอยที่พิพาทในการสัญจรไปมาไม่น้อยกว่า 20 ปี จนกระทั่งผู้ฟ้องคดีได้กั้นรั้วสังกะสีทำให้ซอยแคบลง จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้ถนนซอยที่พิพาทเป็นทางสัญจรไปมาเหมือนดังเช่นถนนสายอื่นซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และมีการใช้ประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปี โดยเจ้าของที่ดินมิได้ขัดขวางหรือห้ามปราม อันแสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินได้ยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้โดยปริยายแล้วและแม้เจ้าของที่ดินจะมีการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งโดยจัดทำป้ายสงวนสิทธิ์ว่าเป็นถนนส่วนบุคคลติดไว้ ก็ถือเป็นแต่เพียงเพื่อแสดงว่าตนมิได้ทอดทิ้งที่ดินอันจะยังผลเป็นการป้องกันมิให้ถนนดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน            กรณีไม่ถือเป็นการขัดขวางหรือห้ามปรามมิให้ประชาชนโดยทั่วไปใช้ถนนซอยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปมาแต่อย่างใดถนนซอยที่พิพาทจึงเป็นถนนส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ อันถือเป็น “ถนน” และเป็น “ที่สาธารณะ” ตามนิยามมาตรา 4          นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจสั่งการให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำถนนที่พิพาทได้ โดย ทนายความเชียงใหม่ (https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/)