รับซ่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ลงประกาศฟรี => อื่น ๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: saibennn9 ที่ กันยายน 12, 2018, 11:32:53 PM

หัวข้อ: การสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เริ่มหัวข้อโดย: saibennn9 ที่ กันยายน 12, 2018, 11:32:53 PM
   การสมรส (https://www.gotoknow.org/posts/tags/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA) คือ การที่ชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงความยินยอมนั้นให้ปรากฏ โดยเปิดเผยและจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน          - การสมรสในต่างประเทศ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทยให้จดทะเบียนตามกฎหมายแห่งประเทศนั้นๆ หรือกฎหมายไทยก็ได้  - การสมรสกรณีพิเศษที่ไม่อาจจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย สามารถแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะให้จดแจ้งการแสดงเจตนาไว้ แล้วนำหลักฐานการจดแจ้งนั้น ไปยื่นต่อนายทะเบียนภายหลังได้          เงื่อนไขและข้อยกเว้นของการสมรส มีดังนี้          ๑. การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้ว เว้นแต่มีเหตุสมควรศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนได้           ๒. ชายและหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา สมรสกันไม่ได้ไม่ว่าเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่           ๓. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมสมรสกันไม่ได้ แต่ถ้าสมรสกันการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิก           ๔. หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสนั้นผ่านพ้นไปแล้ไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน     เว้นแต่       (๑) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น       (๒) สมรสกับคู่สมรสเดิม       (๓) มีใบรับรองแพทย์ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ       (๔) มีคำสั่งศาลให้สมรสได้          ผลของการสมรส มีดังนี้                          ๑. การสมรสมีผลสมบูรณ์ ต่อเมื่อชายและหญิงจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว                          ๒. ผู้เยาว์ทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม                         ๓. การสมรสเป็นโมฆะเมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การสมรสซ้อน การสมรสกับบุคคลวิกลจริต การสมรสระหว่างญาติสนิท                       ๔. การสมรสเป็นโมฆียะเมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การสมรสที่ชายและหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์  การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส   การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉล               ๕. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556 โจทก์สมรสกับพันตรี จ. ในขณะที่พันตรี จ.มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึงโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1497 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรีจ. หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่าในปี 2532 ไม่ฉะนั้นในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้นโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปีผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้โดย ทนายความเชียงใหม่ (https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/)